เรียนสถาปัตย์ดีไหม จบมาทำงานอะไรได้บ้าง?

เรียนสถาปัตย์ดีไหม จบมาทำงานอะไรได้บ้าง?

เรียนสถาปัตย์ ดีไหม? งานมั่นคงแค่ไหนและมีทางเลือกอะไรในอาชีพได้อีกบ้าง!?...มาทำความรู้จักสายงานของ "สถาปนิก" กัน


1. รับราชการ

         เข้ารับราชการในกระทรวงต่างๆ อาทิ กรมโยธาธิการและผังเมือง , สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นต้น โดยทำงานออกแบบอาคารต่างๆให้กับทางภาครัฐหรือตรวจแบบอาคารต่างๆให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

ข้อดี คือเรื่องความมั่นคง เงินเดือน สวัสดิการที่ดี ครอบคลุมทั้งตัวเราและครอบครัว
อย่างไรก็ตาม ภาครัฐมีจำนวนตำแหน่งที่จำกัด จึงทำให้มีอัตราการแข่งขันที่สูงในการสอบบรรจุด้วยเช่นกัน

     


2. ทำงานในบริษัทเอกชน

        ปัจจุบันในไทยมีบริษัทสถาปนิกจำนวนมากตั้งแต่บริษัทเล็กๆหลักสิบคน ไปถึงบริษัทขนาดใหญ่ที่มีพนักงานหลายร้อยคน หรือบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทย

        ดังนั้นการทำงานเป็นสถาปนิกในบริษัทของเอกชนนั้น จึงมีตัวเลือกสายงานและขนาดของบริษัทได้ค่อยข้างมากซึ่งโดยปกติในแต่ละบริษัทจะมีแนวทางและสายงานที่ชัดเจน ทำให้เมื่อเข้าไปทำงานก็จะเข้าใจในสายงานนั้นโดยเฉพาะและลงลึกในสายอาชีพนั้นๆมากขึ้น ตัวอย่างสายงานที่มีเช่น บ้านพักอาศัย บ้านพักตากอากาศ ,โรงแรม รีสอร์ท , การจัดนิทรรศการณ์หรือพิพิธภัณฑ์ , ร้านอาหาร หรือศูนย์การค้า เป็นต้น

ข้อดี คือ การทำงานในบริษัทเอกชน มีตัวเลือกตำแหน่งงานมากกว่า รวมถึงสามารถเลือกสายงานเฉพาะทางที่สนใจเพื่อต่อยอดในสายงานนั้นๆต่อไปได้



3. รับงานอิสระ (Freelance)

        การรับงานอิสระคือการหาลูกค้าและทำงานออกแบบเองทั้งหมดตั้งแต่เริ่มจบจบโครงการตามที่ได้ตกลงกับลูกค้าไว้ในสัญญา โดยการหาลูกค้าอาจเริ่มจากคนที่เห็นและชื่นชอบในผลงานออกแบบของเรา หรือเป็นคนรู้จักที่เห็นผลงานและบอกกันปากต่อปาก ทำให้เราสามรถรับงานได้เองโดยไม่ต้องผ่านองค์กรหรือบริษัท

ข้อดี คือการมีอิสระทางเวลา ไม่ต้องเข้างานในวันเวลาที่กำหนดไว้ตายตัว แต่ทั้งนี้อาจต้องระวังเรื่องการหาลูกค้าเพื่อให้มีงานต่อเนื่องและสัญญาค่าจ้างต่างๆด้วยเช่นกัน ส่วนใหญ่จึงรับงานอิสระเมื่อทำงานสะสมประสบการณ์ได้ในระดับนึงแล้ว

4. การเปิดบริษัทรับออกแบบ

        การเปิดบริษัทรับออกแบบของตัวเองมักเกิดขึ้นหลังจากทำงานในวงการจนได้รับการยอมรับและเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดี เมื่อมีลูกค้าที่สนใจอยากให้ออกแบบให้มากขึ้น จึงสามารถขยับขยายและหาทีมงานมาช่วยงานบริษัท  เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมรายละเอียดในงานออกแบบทุกๆโครงการ

ข้อดี คือการประสบความสำเร็จในอาชีพ มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับ ตลอดจนสามารถสร้างสรรค์ผลงานหรือแสดงเอกลักษณ์ความเป็นตัวตนผ่านงานออกแบบได้มากขึ้น

5. Account Executive

        Account Executive หรือ AE เป็นหนึ่งในแผนกของบริษัทสถาปนิกขนาดใหญ่ที่มีโครงการจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องมีผู้ดูแลและประสานงานกับลูกค้า (แทนสถาปนิก) เพื่อติดต่อประสานงานกับทุกๆแผนกที่เกี่ยวข้อง
ทั้งฝ่ายสถาปนิก ฝ่ายแบบ ฝ่ายวิศวกรรม ฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายงานก่อสร้าง และลูกค้า ดังนั้นผู้ที่ทำงานด้านนี้จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ทางสถาปัตยกรรม การบริหารจัดการ และการสื่อสารที่ดี เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างราบรื่นจนเสร็จสิ้นโครงการ

ข้อดี คือ การได้ใช้ทักษะที่หลากหลาย และมีความมั่งคงเนื่องจากทำงานในองค์กรณ์ขนาดใหญ่
 

6. ต่อยอดทำงานในสายอาชีพอื่นๆ

         คณะสถาปัตยกรรมฯ ไม่ได้สอนเพียงการออกแบบบ้านเท่านั้นแต่ความรู้ที่ได้จากการเรียนสามารถนำไปต่อยอดในสายงานอื่นๆได้อีกหลายแขนง ทั้งงานด้านศิลปะ และสายธุรกิจ เช่น

  • งานวาดการ์ตูนและภาพประกอบ
  • งานด้านสื่อและGraphic Design
  • งานด้านศิลปศึกษา หรือศิลปะบำบัด
  • งานเขียนและนักเล่าเรื่อง หรืองานในวงการบันเทิง
  • ประกอบธุรกิจส่วนตัว อาทิ แบรนด์เสื้อผ้า , ของใช้-เครื่องเขียน, งานทำมือน่ารักๆ หรือ ร้านอาหาร เป็นต้น


ขอบคุณภาพจาก:
https://dsignsomething.com/2020/06/19/p-o-ar-patchara-ornnicha-architecture-co-ltd
https://www.facebook.com/sasi.sketchbook

Powered by MakeWebEasy.com